วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551

อริยสัจจ์สี่แห่งธัมมิกสังคมนิยม ตอน เนื้อเรื่อง

อริยสัจจ์สี่แห่งธัมมิกสังคมนิยม ท่านอาจารย์สันติกโรภิกขุได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ภาค คือ
  1. ภาคต้น (ทุกข์ของสังคมและรากเหง้า)
  2. ภาคปลาย (ธัมมิกสังคมนิยมและการดับทุกข์)
ซึ่งก็คือท่านอาจารย์สันติกโรภิกขุได้ทำการแบ่งตามหลักอริยสัจจ์สี่นั่นเอง โดยในภาคต้นประกอบด้วยหมวดทุกข์และสมุทัย (ทุกข์ต้องกำหนดรู้และเหตุให้เกิดทุกข์ต้องละ) ส่วนในภาคปลายประกอบด้วยหมวดนิโรธและมรรค (ความดับทุกข์ต้องทำให้แจ้งและข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ต้องเจริญให้มากๆ)

ภาคต้น ท่านอาจารย์สันติกโรภิกขุได้แยกหัวข้อย่อยออกเป็น
  • เค้าโครงแห่งอริยสัจจ์สี่
  • พุทธยาน
  • การประกาศตัวทางสังคมของความทุกข์
  • โครงสร้างแห่งความเห็นแก่ตัว อันประกอบไปด้วย 1. ความโลภ (โลภะ) ทุนนิยม บริโภคนิยม 2. ความโกรธ (โกธะ) ลัทธิทหารและความอยุติธรรม 3. ความเกลียดชัง (โทสะ) ลัทธิเหยียดสีผิว ชนชั้นวรรณะ และลัทธิอภิสิทธิ์ชน 4. ความกำหนัด ทะเยอทะย่น (ราคะ) ปัญหาโสเภณี การบันเทิง การท่องเที่ยวและธุรกิจ 5. มายาคติด ความลุ่มหลง (โมหะ) การศึกษาและสื่อสารมวลชน 6. การแข่งขัน ทุนนิยม การกีฬา และวิถีชีวิต 7. ความกลัว (ภยะ) เวชกรรมการแพทย์ และศาสนา 8. ลัทธิอคติทางเพศ กิเลสทุกชนิด
  • ความซับซ้อนยุ่งยากแห่งลัทธิ
  • ความไม่รู้ (อวิชา) สาเหตุดั้งเดิมแห่งทุกข์
ภาคปลาย ท่านอาจารย์สันติกโรภิกขุได้แยกหัวข้อย่อยออกเป็น
  • โครงสร้างสังคมที่ประกอบด้วยธรรมะ
  • อริยมรรคทางสังคม 12 ประการ คือ 1. ศาสนาที่ถูกต้อง 2. การศึกษาที่ถูกต้อง 3. การนำที่ถูกต้อง 4. องค์กรและรัฐบาทที่ถูกต้อง 5. การสื่อสารที่ถูกต้อง 6. วัฒนธรรมที่ถูกต้อง 7. ความรู้สึกทางเพศ (กามารมณ์) และครอบครัวที่ถูกต้อง 8. เศรษฐกิจที่ถูกต้อง 9. นิเวศวิทยาที่ถูกต้อง 10. การละเล่นที่ถูกต้อง 11. การตรวจสอบการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง 12. สังฆะและความเป็นเอกภาพที่ถูกต้อง
  • ทรัพยากรมนุษย์ที่ติดตัวมาแต่กำเนิด
ตอนต่อไปจะดำเนินเรื่องในภาคต้น ตอนที่ 01

หนังสือเรื่องอริยสัจจ์สี่ที่เขียนโดยภิกษุต่างชาติมีหลายเล่ม แต่ที่พอหามาได้ มีที่นี่
หนังสือด้านพระพุทธศาสนาที่ได้วางตลาดในต่างประเทศ (โดยเฉพาะในอเมริกา) ลองดูได้ที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น: