วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552

อริยสัจจ์สี่แห่งธัมมิกสังคมนิยม ตอน ความซับซ้อนยุ่งยากแห่งลัทธิ

จากความตอนที่แล้วท่านสันติกโรภิกขุได้กล่าวถึง "ลัทธิอคติทางเพศ : กิเลสทุกชนิด" ลำดับต่อไปท่านจะกล่าวต่อถึงเรื่อง "ความซับซ้อนยุ่งยากแห่งลัทธิ" ดังนี้

ที่ผ่านมาเราได้กล่าวถึงโครงสร้างพื้นฐานของความเห็นแก่ตัวกันมาแล้ว แม้รายชื่อเหล่านั้นไม่สมบูรณ์นัก แต่มันก็แสดงให้เห็นแนวทางของเราระดับหนึ่ง และเราควรเห็นอย่างแจ่มชัดอีกว่าด้านหนึ่งของโครงสร้างเหล่านี้ฝังรากอยู่ในกิเลสส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นความโลภ โกรธ เกลียด ความอวดดี การแข่งขัน ความลุ่มหลงมัวเมา ความกลัว ความกังวล ความเหนื่อยหน่าย ความน่าตื่นเต้น และอีกมากมายที่เกิดขึ้นกับปัจเจกบุคคล และในขณะเดียวกันโครงสร้างอันแข็งแกร่งแห่งกิเลสและความเห็นแก่ตัวนี้ มันก็ส่งผลสะเทือนมาสู่เราในฐานะปัจเจกบุคคลอย่างรุนแรงใหญ่หลวง มันทำให้ความโลภมากอยากได้ ความโกรธและขลาดกลัวเกิดง่ายยิ่งขึ้นในตัวเรา ซึ่งอาจพูดได้ว่า อนุสัย (ความเคยชินของกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน) ก็มีในสันดานของสังคมอย่างเต็มที่ ระหว่างโครงสร้างความเห็นแก่ตัวที่อยู่ในพวกเรากับโครงสร้างกิเลสและความเห็นแก่ตัวที่ถูกสร้างขึ้นในสังคม มันมีปฏิสัมพันธ์มีพลวัตและอิงอาศัยเป็นเหตุปัจจัยต่อกัน นี้เป็นหนทางหนึ่งที่เราสามารถวิเคราะห์หาสาเหตุแห่งทุกข์ทางสังคมได้ และแนวทางนี้ไม่ได้ปฏิเสธประสิทธิภาพของการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ การเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างหญิงและชาย และด้านนิเวศวิทยาแต่อย่างใด หากเราเพียงแต่พยายามมองปัญหาเหล่านี้ด้วยเป้าหมายทางจิตวิญญาณและศีลธรรมเท่านั้น ต่อไปเราอาจเชื่อมโยงแนวทางนี้ด้วยการวิเคราะห์อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ ขบวนการสิทธิสตรี มานุษยวิทยาและอื่นๆ ซึ่งคงประกอบด้วยวิธีการและรายละเอียดอีกมาก

พยายามปะติดปะต่อกันเป็นตอนๆ น่ะครับ ตอนต่อไปท่านสันติกโรภิกขุจะกล่าวถึง "ความไม่รู้ (อวิชชา) :สาเหตุดั้งเดิมแห่งทุกข์" โปรดติดตามครับ

เอกสารอ้างอิง: อริยสัจจ์สี่แห่งธัมมิกสังคมนิยม, สันติกโรภิกขุ เขียน, จิรธัมม์ แปล

เพื่อ ให้บทความแต่ละตอนมีความเด่นชัดขึ้น จึงได้พยายามเสาะหาคำอธิบาย บทความ หรือทัศนวิจารณ์ที่เห็นว่าเป็นประโยชน์มาประกอบซึ่งท่านสามารถติดตามด้วย ลิงค์ของบทความที่น่าสนใจและที่เกี่ยวข้องกับบทความตอนนี้ได้ดังต่อไปนี้

ไม่มีความคิดเห็น: