วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551

อริยสัจจ์สี่แห่งธัมมิกสังคมนิยม ตอน การแข่งขัน

จากความตอนที่แล้วท่านสันติกโรภิกขุได้กล่าวถึง "ยาคติ ความลุ่มหลง (โมหะ) : การศึกษา และสื่อสารมวลชน" ลำดับต่อไปท่านฯจะกล่าวต่อถึงเรื่อง "การแข่งขัน : ทุนนิยม การกีฬา และวิถีชีวิต" ดังนี้

อีกหน้าตาหนึ่งที่สำคัญของมายาคติหรือโมหาคติในระบบเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมก็คือ "การแข่งขัน" ซึ่งมีรากเหง้ามาจากกิเลสตัวสำคัญคือ ความถือตัวอวดดี (มานะ) เพราะเมื่อมี "ตัวตน" ก็ต้องมี "ผู้อื่น" แล้วเราก็เปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น ในแง่ของความ "ดีกว่า" "เลวกว่า" หรือไม่ก็ "เท่าเทียมกัน" ด้วยวิธีการเปรียบเทียบอย่างนี้ เราก็สร้างตัวตนที่อยู่ในฐานะผู้แข่งขันขึ้นมา บางครั้งก็เลยไปถึงเป็นศัตรูต่อกัน ดังนั้น การแข่งขันจึงเป็นที่ยกย่องบูชากันในวิถีชีวิตแบบสมัยใหม่ ในลัทธิแห่งตลาด ในความเชื่อที่เรามีเกี่ยวกับรัฐชาติ และในการแสวงหาความตื่นเต้นของเรา ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้เราจึงเห็นการแข่งขันเป็นสิ่งจำเป็นในการมีชีวิตอยู่ เพราะความเชื่อในการแข่งขันทำให้เราสูญเสียความสามารถในการมองดูผู้อื่นเป็นอย่างพี่ชายน้องสาว เป็นมิตรสหายร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือมองในฐานะเพื่อนผู้ปฏิบัติธรรมร่วมกัน

พยายามปะติดปะต่อกันเป็นตอนๆ น่ะครับ ตอนต่อไปท่านสันติกโรภิกขุจะกล่าวถึง "ความกลัว (ภยะ) : เวชกรรมการแพทย์ และศาสนา" โปรดติดตามครับ

เอกสารอ้างอิง
: อริยสัจจ์สี่แห่งธัมมิกสังคมนิยม, สันติกโรภิกขุ เขียน, จิรธัมม์ แปล

เพื่อ ให้บทความแต่ละตอนมีความเด่นชัดขึ้น จึงได้พยายามเสาะหาคำอธิบาย บทความ หรือทัศนวิจารณ์ที่เห็นว่าเป็นประโยชน์มาประกอบซึ่งท่านสามารถติดตามด้วย ลิงค์ของบทความที่น่าสนใจและที่เกี่ยวข้องกับบทความตอนนี้ได้ดังต่อไปนี้
หนังสือหรือสื่อความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในบทความนี้

ไม่มีความคิดเห็น: